|
|
|
|
|
|
องค์การลูกเสือโลก
|
องค์การลูกเสือโลก ประกอบด้วย 3 องค์กรหลักคือ
|
1. สมัชชาลูกเสือโลก (WORLD SCOUT CONFERENCE)
คือที่ประชุมใหญ่ประกอบด้วย
ผู้แทนของประเทศสมาชิกฯ
ทุกประเทศมาร่วมประชุมกันทุก ๆ สามปีต่อครั้ง ยกเว้นแต่ว่าปีใดที่สถานการณ์ไม่อำนวย ไม่สามารถจะจัดให้มีการประชุมสมัชชาลูกเสือโลกได้ก็จะเว้นการประชุมฯ
ในเฉพาะปีนั้น ๆ
เช่น พ.ศ. 2484 ไม่ได้มีการประชุมสมัชชาลูกเสือโลกตามกำหนดเนื่องจาก
ลอร์ด เบเดน เพาเวลล์ ผู้ให้กำเนิดลูกเสือโลกถึงแก่กรรม คณะลูกเสือทั่วโลกมีการไว้ทุกข์ ไว้อาลัย ให้แก่การล่วงลับไปของผู้ให้กำเนิดฯ
และในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ.2484-2489 เป็นช่วงที่สถานการณ์ของโลกอยู่ในภาวะคับขันและมีสงครามโลกครั้งที่ 2
เกิดขึ้น
ประกอบด้วยมีความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจอย่างมาก สถานการณ์ไม่เอื้ออำนวย จึงไม่ได้จัดการประชุมสมัชชาลูกเสือโลกขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว
|
2. คณะกรรมการลูกเสือโลก(WORLD COUTCOMMITTEE) คือคณะกรรมการที่บริหารองค์การลูกเสือโลกมีจำนวนทั้งหมด
14 คน
ซึ่งได้รับเลือกตั้งในที่ประชุมสมัชชาลูกเสือโลกตามวิธีการ เงื่อนไข
และบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในธรรมนูญลูกเสือโลก |
3.สำนักงานลูกเสือโลก (WORLD
SCOUT BUREAU) คือ สำนักเลขาธิการลูกเสือโลก มีเลขาธิการสำนักงานลูกเสือโลก (secretary general of the world scout bureau) เป็นผู้บังคับบัญชาของสำนักงานฯ สำนักงานลูกเสือโลกทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงาน
ดำเนินงาน และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์การลูกเสือสมาชิกทั่วโลก เพื่อรักษาและดำรงไว้ซึ่งความเป็นเอกภาพ(Unity)
ของขบวนการลูกเสือแห่งโลก
ให้อยู่ได้อย่างสถาพรและมั่นคงตลอดไป
|