กลับหน้าหลักครับ

ทักทายและตอบปัญหาด้านลูกเสือ

 

 

 

 

 

 

 

                       การลูกเสือโลกเป็นขบวนการทางการศึกษาสำหรับเยาวชน    มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างบุคลิกภาพและพัฒนาการทางด้านสังคม   เป็นองค์การอาสาสมัคร   ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองเปิดโอกาสสำหรับคนทั่วไป โดยขึ้นอยู่บนพื้นฐาน ดังนี้

                      ปฏิบัติตามหลักการสำคัญของการลูกเสือที่ได้กำหนดขึ้น  โดยผู้ให้กำเนิดลูกเสือโลกและยึดมั่นตามคำสอนของศาสนาที่ตนเคารพนับถือ   มีความจงรักภักดีต่อชาติบ้านเมือง    ช่วยสร้างเสริมสันติภาพความเข้าใจอันดีและให้ความร่วมมือ    มีความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเอง        เข้าร่วมในการพัฒนาสังคมด้วยการยกย่องและเคารพในเกียรติของบุคคลอื่น      เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั่วโลก   เป็นวิธีการพัฒนาเยาวชนให้เป็นพลเมืองดี  มีความรับผิดชอบบนพื้นฐานคำปฏิญาณตามกฎของลูกเสือเรียนรู้โดยการกระทำวิธีการระบบหมู่พัฒนาความก้าวหน้าของบุคคลโดยใช้หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือกิจกรรมกลางแจ้ง

                     องค์การลูกเสือโลก   คือ   องค์การนานาชาติ    ที่มิใช่องค์การของรัฐบาลใด     มีองค์ประกอบที่สำคัญ  3  ประการ คือ     สมัชชาลูกเสือโลก    คณะกรรมการลูกเสือโลก   และสำนักงานลูกเสือโลก

                     สมัชชาลูกเสือโลก  (World Scout Conference)  คือ     ที่ประชุมของผู้แทนคณะลูกเสือประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเริ่มมีการประชุมกันเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1920 (พ.ศ.2463) และหลังจากนั้น       โดยปกติมีการประชุมทุก ๆ   2   ปี ตั้งแต่ครั้งที่ 1  ถึงครั้งที่  32           และจะเปลี่ยนเป็นการประชุมทุกระยะ  3  ปี        โดยเริ่มตั้งแต่ครั้งที่ 33  เป็นต้นไป      ซึ่งจัดขึ้น ณ ประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2536    ประเทศต่าง ๆ ที่ได้จัดประชุมสมัชชาลูกเสือโลกแล้ว มีดังนี้

.ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2463  ประเทศอังกฤษ

ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2465  ประเทศฝรั่งเศส

ครั้งที่ 3  พ.ศ. 2467 ประเทศเดนมาร์ก

ครังที่ 4  พ.ศ. 2469 ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

ครั้งที่ 5  พ.ศ. 2472 ประเทศอังกฤษ

ครั้งที่ 6  พ.ศ. 2474 ประเทศออสเตรีย

ครั้งที่ 7  พ.ศ. 2476 ประเทศฮังการี

ครั้งที่ 8  พ.ศ. 2478 ประเทศสวีเดน

ครั้งที่ 9  พ.ศ. 2480 ประเทศเนเธอร์แลนด์

ครั้งที่ 10 พ.ศ.2482 ประเทศสกอตแลนด์

ครั้งที่ 11 พ.ศ.2490 ประเทศฝรั่งเศส

.ครั้งที่ 12 พ.ศ. 2492 ประเทศนอร์เวย์

ครั้งที่ 13 พ.ศ.2494  ประเทศออสเตรีย

ครั้งที่ 14 พ.ศ.2496 ประเทศลิคเท่นสไตน์

ครั้งที่ 15 พ.ศ.2498   ประเทศแคนาดา

ครั้งที่ 16 พ.ศ.2500   ประเทศอังกฤษ

ครั้งที่ 17 พ.ศ.2502   ประเทศอินเดีย

ครั้งที่ 18 พ.ศ.2504   ประเทศโปรตุเกส

ครั้งที่ 19 พ.ศ.2506   ประเทศกรีซ

ครั้งที่20 พ.ศ. 2508   ประเทศเม็กซิโก

ครั้งที่ 21 พ.ศ.2510 ประเทศสหรัฐอเมริกา

ครั้งที่ 22 พ.ศ.2512  ประเทศฟินแลนด์

ครั้งที่ 23 พ.ศ.2515  ประเทศญี่ปุ่น

ครั้งที่ 24 พ.ศ. 2516   ประเทศเคนยา

ครั้งที่ 25 พ.ศ.2518   ประเทศเดนมาร์ก

ครั้งที่ 26 พ.ศ. 2520 ประเทศแคนาดา

ครั้งที่ 27 พ.ศ.2522  ประเทศอังกฤษ

ครั้งที่ 28 พ.ศ.2524  ประเทศเซเนกัล

ครั้งที่ 29 พ.ศ.2526 ประเทศสหรัฐอเมริกา

ครั้งที่ 30 พ.ศ.2528  ประเทศเยอรมนีตะวันตก

ครั้งที่ 31 พ.ศ. 2531 ประเทศออสเตรเลีย

ครั้งที่ 32 พ.ศ.2533            ประเทศฝรั่งเศส

ครั้งที่ 33 พ.ศ. 2536  ประเทศไทย  (เริ่มต้นการประชุม 3 ปีต่อครั้ง)

ครั้งที่ 34 พ.ศ.2539 ประเทศนอร์เวย์

 

ครั้งที่ 35 พ.ศ.2542 ประเทศชิลี

 

ครั้งที่ 36 พ.ศ.2545 ประเทศกรีซ

 

ครั้งที่ 37 พ.ศ.2548 ประเทศตูนีเซีย

 

ครั้งที่ 38 พ.ศ.2551 ประเทศเกาหลีใต้

 

 

 

คณะกรรมการลูกเสือโลก    มีหน้าที่โดยย่อดังนี้

 

1.ส่งเสริมกิจการลูกเสือทั่วโลก

 

2.แต่งตั้งเลขาธิการ และรองเลขาธิการของสำนักงานลูกเสือโลก

 

3.ควบคุมปฏิบัติงานของสำนักงานลูกเสือโลก

 

4.จัดหาเงินทุนสำหรับส่งเริมกิจการลูกเสือ

 

5.ให้เครื่องหมายลูกเสือสดุดี  Bronze  Wolf  ของคณะลูกเสือ แก่ผู้ที่ได้มีส่วนช่วยเหลือกิจกรรมลูกเสืออย่างดีเด่น

 

 

คนไทยคนที่ได้รับเครื่องหมายลูกเสือสดุดีบรอนซ์วูล์ฟ  (Bronze Wolf Award) ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดของ องค์การลูกเสือโลก

 

 

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

 

 

พ.ศ.2551

 

 

 

 

 

 

 

นายอภัย  จันทวิมล  เมื่อปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) เข้า รับในการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่ 20 พ.ศ.2514 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

 

 

 

 

นายจิตร  ทังสุบุตร เมื่อปี พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) รับในการประชุมสมัชชาลูกเสือเขตเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 10  พ.ศ.2519  ณ กรุงเตหราน ประเทศอิหร่าน

 

 

 

 

 

 

 

 

นายกอง  วิสุทธารมณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980)  รับในการประชุมสมัชชาลูกเสือเขตเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 12 พ.ศ.2525 ณ ประเทศออสเตรเลีย

 

 

 

 

 

 

 

 

นายเพทาย  อมาตยกุล เมื่อปี พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) รับในการประชุมสมัชชาลูกเสือเขตเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 14 ณ กรุงเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์

 

 

 

 

นายแพทย์บุญสม  มาร์ติน เมื่อปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) รับในการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่ 32  ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

 

 

 

 

 

 

 

 

นางสุมน สมสาร เมื่อปี พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996)  รับในการประชุมสมัชชาลูกเสือเขตเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 19 ( พ.ศ. 2541)  ณ ฮ่องกง

 

 

 

 

นายสุธรรม พันธุศักดิ์ เมื่อปี พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) รับในการประชุมสมัชชาลูกเสือเขตเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 19 ( พ.ศ. 2541) ณ ฮ่องกง

 

 

 

 

 

 

 

 

นายแพทย์ยงยุทธ วัชรดุลย์ เมื่อปี พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008)รับในการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่ 38 พ.ศ. 2551 ณ เจจู ประเทศเกาหลี

 

 

คนไทยสองท่านที่เคยได้รับเลือกเป็นกรรมการลูกเสือโลก คือ

 

1.นายอภัย  จันทวิมล  (1965 - 1971)

 

2.นายแพทย์บุญสม  มาร์ติน  (1981 - 1987)

สำนักงานลูกเสือโลก (World Scout Bureau)

 

1920 ตั้งขึ้นที่กรุงลอนดอน เรียกว่า  International Bureau

 

1958 ย้ายไปอยู่ที่กรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา

 

1961 เปลี่ยนชื่อเป็น  World Bureau    ในการประชุมสมัชชาครั้งที่    18 ที่กรุงลิสบอน    ประเทศโปรตุเกส

 

19668 ย้ายไปอยู่ที่เมืองเจนีวา  ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

 

 

สำนักงานลูกเสือโลกมีเลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชา  และมีเจ้าหน้าที่ประมาณ  40 คนเป็นผู้ช่วยนอกจากนี้ยังมีสำนักงานสาขาอีก  6  เขต  คือ

 

1.ภาคพื้นยุโรป (Europe)   - มีประเทศสมาชิก 41  ประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และกรุงบร้สเซลส์

ประเทศเบลเยี่ยม

 

2.ภาคพื้น เอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific) -  มีประเทศสมาชิก 24 ประเทศ  สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงมนิลา  ประเทศฟิลิปปินส์

 

3. ภาคพื้น ยูเรเชีย (Eurasia)  - มีประเทศสมาชิก  9 ประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยูี่่ที่ ยัลตา -  เกอร์ชัฟ สาธารณรัฐยูเครน 

และสำนักงานสาขา กรุงมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย

 

4. ภาคพื้นอินเตอร์อเมริกา (Interamerica)  -  มีประเทศสมาชิก  32  ประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงซานติเอโก ประเทศชิลี

 

5.ภาคพื้นอาหรับ (Arab)  -  มีประเทศสมาชิก  18  ประเทศ  สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต

 

6.ภาคพื้นอาฟริกา (Africa) -  มีประเทศสมาชิก 37  ประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงไนโรบี  ประเทศเคนยา

และมีสาขาแยกออกไปคือ

 

 

6.1.สำนักงานสาขา 1.  ตั้งอยู่ที่กรุงดาการ์ ประเทศเซเนกัล

 

6.2.สำนักงานสาขา 2.  ตั้งอยู่ที่ กรุงเคปทาวน์  ประเทศอาฟริกาใต

 

 

สำนักงานลูกเสือโลกมีหน้าที่โดยย่อดังนี้

 

1.ดำเนินการตามมติของสมัชชาและคณะกรรมการลูกเสือโลก

 

2.ติดต่อกับประเทศสมาชิกและองค์การที่เกี่ยวข้อง

 

3.ประสานงานกับประเทศสมาชิก

 

4.ส่งเสริมกิจการลูกเสือโดยทั่วไป

 

 

 

ครูศราวุธ  เขื่อนคำ  วุฒิทางลูกเสือ :  L.T.  ตำแหน่งทางลูกเสือ : รองผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ

ครู ชำนาญการพิเศษ(ลูกเสือ) โรงเรียนเวียงเจดีย์วิทยา  ลำพูน  : นายกสมาคมผู้บังคับบัญชาลูกเสือลำพูน  
ที่อยู่ สมาคมผู้บังคับบัญชาลูกเสือลำพูน    เลขที่ 450 / 3 หมู่ที่4    ถนนพหลโยธิน(อาคารสำนักงานส่งเสริมวินัยนักเรียน)  
ตำบลลี้    อำเภอลี้    จังหวัดลำพูน 51110 Tel : 08-1026-9760  ,  หรือ krutujao_scout@hotmail.com

ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ :