| ||||||||
| ||||||||
ความหมายของคำว่า "เสือป่า" | ||||||||
| ||||||||
ในบทพระราชนิพนธ์เรื่อง "เสือป่าแมวมอง" พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระบรมราชาธิบาย ในเรื่องความหมายและความเป็นมาของคำว่าเสือป่า มีความสำคัญบางตอน ดังต่อไปนี้ "นามเสือป่าที่เลือกมาใช้นี้เป็นชื่อเก่าแต่โบราณกาล แต่อาศัยที่ชื่อนี้เลิกใช้ในกองทัพบกในปัจจุบันเสียแล้ว คนรุ่นใหม่จึงไม่ใคร่จะเข้าใจซึมซาบเหมือนคนรุ่นเก่า อย่างดีก็จะมีแต่เพียงได้อ่านในหนังสือว่ามีทหารโบราณจำพวกหนึ่งเรียกว่า "เสือป่า"คู่กับแมวเซาหรือแมวมอง แต่น่าจะไม่สู้เข้าใจนักว่าเป็นทหารชนิดใดจึงควรอธิบายไว้ในที่นี้พอสังเขป | ||||||||
เสือป่าคือทหารที่ท่านใช้ไปสืบข่าวศึก เพื่อแม่ทัพพอจะรู้เป็นเลาๆ ว่าข้าศึกนั้นจะยกมาทางใด มีกำลังเพียงใด ท่าทางจะรบพุ่งอย่างไร ตรงกับที่ในกองทัพบกทุกวันนี้ เรียกว่า "ผู้สอดแนม" หรือเรียกตามภาษาอังกฤษว่า "สเคาต์" ส่วนแมวเซาหรือแมวมองนั้น ข้าพเจ้าเข้าใจว่าคงจะเป็นนามใช้เรียกทหารจำพวกที่จัดออกไปเป็นกองคอยเหตุคือปล่อยไปวางไว้แห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ติดต่อกับเขตของทัพข้าศึก หรือเป็นทางที่คะเนว่าข้าศึกจะเดินมาและเป็นหน้าที่จะต้องคอบอกข่าวข้าศึกมาให้แม่ทัพทราบเท่าที่ตนจะสังเกตเห็นโดยไม่ต้องไปพื้นที่ซึ่งตนไปตั้งคอยเหตุ ทหารชนิดนี้ตามภาษาที่ใช้ในกองทัพบกทุกวันนี้ เรียกว่า"กองระวังด่าน" หรือเรียกตามภาษาอังกฤษว่า "เอ๊าตโปสต์"ตามหน้าที่ๆจะต้องกระทำในการสงคราม พวกเสือป่ากับพวกแมวมองย่อมจะต้องทำการต่อเนื่องกันอยู่เพราะย่อมจะต้องอาศัยซึ่งกันและกันน่าจะเป็นด้วยเหตุนี้เอง เสือป่าแมวมองจึงมีชื่อเข้าคู่ติดกันอยู่โดยมาก ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา" | ||||||||
| ||||||||
|