กลับหน้าหลักครับ

ทักทายและตอบปัญหาด้านลูกเสือ

 

 

 

 

 

 

 

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9)

องค์พระประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ

 

 

 

                                    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช การลูกเสือได้เริ่มมีการฟื้นฟูขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง และเพื่อให้มีกิจการลูกเสือไทยดำเนินการต่อไป    จึงได้มีการออกพระราชบัญญัติลูกเสือ พุทธศักราช 2490  อีกฉบับหนึ่ง  ซึ่งมีหลักการคล้ายกับพระราช-บัญญัติลูกเสือปี พ..2482แต่มีสาระสำคัญที่เพิ่มขึ้น   คือ  “กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งบรมราชูปถัมภ์คณะลูกเสือแห่งชาติ”  และได้มีการโอนทรัพย์สินของลูกเสือซึ่งตกเป็นขององค์การยุวชนทหารกลับมาเป็นคณะลูกเสือแห่งชาติอย่างเดิม  ซึ่งเท่ากับองค์การยุวชนทหารแห่งชาติต้องสลายตัวไปด้วยตา มพระราชบัญญัติฉบับนี้นอกจากนี้มีการออกพระราชบัญญัติลูกเสือฉบับต่าง ๆ แล้ว   กิจการลูกเสือในสมัยรัชกาลนี้ได้เข้าถึงประชาชนด้วยโดยได้มีการเปิดฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านขึ้นด้วย เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ..2514    หมู่บ้านเหล่ากอหก  ตำบลแสงพา  กิ่งอำเภอนาแห้ว  จังหวัดเลย  ขึ้น  เป็นรุ่นแรกของประเทศไทย  โดยมี พล...สมควร หริกุล  ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดน  เขต 4 ในขณะนั้น  นายวิโรจน์  พูลสุข  อดีตศึกษาธิการเขต  เขตการศึกษา 9  จังหวัดอุดรธานี นายสมเกียรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ  พร้อมด้วยวิทยากรจากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต 4  และวิทยากรจากเขตการศึกษา 9    เป็นผู้ริเริ่มจัดทำหลักสูตรและดำเนินการฝึกอบรม  ปรากฏว่าได้ผลดีเป็นอันมาก  เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการฝึกอบรม  เมื่อวันที่  19  มีนาคม  ..2519 เป็นที่พอพระราชหฤทัย  จึงทรงรับกิจการลูกเสือชาวบ้านไว้ในพระบรมราชา-นุเคราะห์ตั้งแต่นั้นมากิจการลูกเสือชาวบ้านได้แพร่ขยายไปทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว    จนปัจจุบันนี้มีลูกเสือชาวบ้านทั่วประเทศนับเป็นพัน ๆ รุ่น

            ด้านวิชาการและการฝึกอบรม  ในยุคนี้ความก้าวหน้าทางวิชาการและการฝึกอบรม  นับว่ามีความก้าวหน้าไปมากทั้งทางด้านการฝึกอบรมผู้บังคับลูกเสือและลูกเสือทุกประเภท  ทุกระดับ    และการฝึกอบรมของสมาคมลูกเสือ  ได้มีการตั้งกองลูกเสือเหล่าสมุทรและกองลูกเสือเหล่าอากาศเพิ่มขึ้น  ได้มีคำสั่งของกระทรวงศึกษาธิการให้นำหลักสูตรลูกเสือเข้ามาอยู่ในหลักสูตรของโรงเรียน    มีการจัดตั้งกองลูกเสือวิสามัญขึ้นในโรงเรียน  มีการจัดตั้งค่ายลูกเสือระดับจังหวัดและระดับอำเภอทั่วประเทศ    เพื่อให้เป็นที่ฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ  และลูกเสือ

          ด้านกิจกรรมลูกเสือภายในประเทศได้มีการจัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ จำนวนหลายครั้ง และเป็นเจ้าภาพในการจัดงานชุมนุมลูกเสือเขตเอเชียแปซิฟิค    ครั้งที่ 9 เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมสมัชชาลูกเสือโลกเขตเอเชียแปซิฟิค        ในปี  ..2529   มีคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติหลายท่านได้รับเลือกให้เป็นคณะกรรมการบริหารลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือโลกและกรรมการบริหารลูกเสือเขตเอเชียแปซิฟิค มีคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติได้รับเกียรติให้ได้รับเหรียญลูกเสือโลกและศูนย์ฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือนานาชาติแห่งกิลเวลปาร์ค  ประเทศอังกฤษ    ได้ทูลเกล้าถวายเครื่องหมายแสดงคุณวุฒิทางลูกเสือชั้นสูงสุดของโลกแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  (เครื่องหมายวูดแบดจ์4 ท่อน) ในฐานะที่พระองค์เป็นพระประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ  และเป็นกษัตริย์เพียงพระองค์เดียวในโลกที่ได้รับการทูลเกล้าฯ  ถวายเครื่องหมายนี้   ในด้านกิจการลูกเสือในต่างประเทศได้มีการส่งผู้แทนเข้าร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก  การชุมนุมลูกเสือเขตเอเชียแปซิฟิคทุกครั้งและงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติของประเทศต่าง ๆ   ที่ได้เชิญมา

          การลูกเสือในยุคนี้  จึงนับได้ว่าเป็นยุคที่มีความก้าวหน้ารุ่งเรืองมากที่สุดกว่าทุกยุคและมีความก้าวหน้าจนรุดหน้าประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศ     ที่เป็นสมาชิกของสมาคมลูกเสือโลกซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 153 ประเทศ  เป็นยุคที่มีความก้าวหน้ากว่าทุกยุคของการลูกเสือไทยในทุกด้านทางด้านอุดมการณ์    ด้านการบริหาร  ด้านวิชาการ   และด้านกิจกรรม  นอกจากนี้กิจกรรมบางอย่างที่ทำให้ประชาชนเกิดความรักชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์   และ มีความสามัคคีกัน ตลอดจนรู้จักพัฒนาตนเอง  และสังคมในชุมชนของตนให้ดีขึ้นเป็นอันมาก

          สำหรับในปี  ..2545 – 2546 ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดงาน”ชุมนุมลูกเสือโลก  ครั้งที่ 20“  ขึ้นในระหว่างวันที่  28  ธันวาคม พ.ศ.2545  ถึง  วันที่  7  ธันวาคม  พ.ศ.2546      บริเวณหาดยาว   อำเภอสัตหีบ  จังหวัดชลบุรี  ซึ่งมีคำขวัญว่า “ร่วมโลกเดียวกัน  ร่วมสัมพันธ์ต่างวัฒนธรรม”   Share Our  World.  Share  Our  Cultures  ซึ่งจะมีลูกเสือจาก  151  ประเทศสมาชิก  เข้าร่วมงานชุมนุม  ครั้งนี้  ประมาณ  30,000  คน  สำหรับกิจกรรมงานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่  20  นี้  เป็นกิจกรรมที่มีสาระความรู้ทางวิชาการอันทันสมัย  มีความน่าสนใจท้าทายและเร้าใจเหมาะสมกับวัยของเยาวชนตามแนวนโยบายขององค์การลูกเสือโลกซึ่งจะเน้นหลักการทำงานเป็นหมู่คณะ  การพัฒนาทักษะทางร่างกายสติปัญญา ความรู้ความสามารถในเชิงวิทยาการที่ทันสมัยและการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมเป็นสำคัญ  โดยแบ่งออกเป็น  4  ประเภท  คือ

                       1.กิจกรรมต้อนรับ (Home  Hospitality)       ลูกเสือจากต่างประเทศจะได้รับการต้อนรับจากพี่น้องลูกเสือไทยเป็นผู้ดูแลเป็นเวลา 3 – 4 วัน ก่อนหรือหลังงานชุมนุมฯ

                       2. ชีวิตชาวค่าย (Sub-Camp Life)  การบริหารงานในค่ายชุมนุม  โดยให้ความสำคัญในการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย สาธารณสุขขั้นมูลฐาน  ความปลอดภัย  และการป้องกันอุบัติภัยของสมาชิกในค่าย

                       3. กิจกรรมหลัก (Youth  Program)  เป็นกิจกรรมบังคับซึ่งลูกเสือทุกคนต้องเข้าร่วม  แบ่งออกเป็น  9  ชนิด  คือ 

    1.หมู่บ้านโลกาภิวัตน์ (Global Development Village) 

    2.เมืองวิทยาศาสตร์  (City  of Science) 

    3. จตุรัสวัฒนธรรม (Crossreads  of  Cultures)  

    4.มรดกของเรา  (Our  Heritage)   

    5. ทักษะลูกเสือ (Tournament)   

    6.พัฒนาชุมชน (Community  Action  Day) 

    7.กิจกรรมทางน้ำ (Face  the  Waves) 

    8.เดินทางไกล (Exploring  Nature) 

                    กิจกรรมยามว่าง (Free – Time  Activities) 

ครูศราวุธ  เขื่อนคำ  วุฒิทางลูกเสือ :  L.T.  ตำแหน่งทางลูกเสือ : รองผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ

ครู ชำนาญการพิเศษ(ลูกเสือ)โรงเรียนเวียงเจดีย์วิทยา  ลำพูน  : นายกสมาคมผู้บังคับบัญชาลูกเสือลำพูน  
ที่อยู่ สมาคมผู้บังคับบัญชาลูกเสือลำพูน    เลขที่ 450 / 3 หมู่ที่4    ถนนพหลโยธิน(อาคารสำนักงานส่งเสริมวินัยนักเรียน)  
ตำบลลี้    อำเภอลี้    จังหวัดลำพูน 51110 Tel : 08-1026-9760  ,  หรือ krutujao_scout@hotmail.com

 

ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ :