กลับหน้าหลักครับ

ทักทายและตอบปัญหาด้านลูกเสือ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วันวชิราวุธรำลึก

 

คณะลูกเสือแห่งชาติมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งกาย  สติปัญญา  จิตใจ  ศึลธรรม ให้เป็นพลเมืองดี  มีความรับผิดชอบ  ช่วยสร้างสังคมให้มีความเจริญก้าวหน้าเพื่อความสงบสุขและความมั่นคงของประเทศชาติ

 

 

 

 

   วันวชิราวุธ หมายถึง วันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงริเริ่มกิจกรรมที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมนับอเนกอนันต์ไว้ในหลายสาขา

 

ประวัติความเป็นมา (แหล่งข้อมูลที่มา kroobannok.com)

       วันวชิราวุธ ตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี สาเหตุที่กำหนดให้เป็นวันนี้ เนื่องจากตรงกับวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่เป็นประโยชน์อย่างมากมายมหาศาลต่อประเทศชาติ ทั้งในด้านการคมนาคม การปกครอง กิจการเสือป่าและลูกเสือ  รวมทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม และด้านวรรณคดี เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต ทางการจึงกำหนดให้วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันวชิราวุธ เพื่อเทิดพระเกียรติและรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน

           

        เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีคุณูปการต่อประเทศไทยในหลายด้านทั้งด้านการคมนาคม การแพทย์และสาธารณสุข ด้านการปกครอง กิจการเสือป่าและลูกเสือด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านศิลปะและวัฒนธรรมไทย ด้านวรรณกรรมและหนังสือพิมพ์เป็นต้นด้วยคุณูปการดังกล่าวทางราชการจึงได้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ไว้ในสถานที่ต่าง ๆหลายแห่งที่สำคัญคือพระบรมราชานุสาวรีย์บริเวณหน้าสวนลุมพินี ซึ่งรัฐบาลและประชาชนพร้อมใจกันบริจาคทรัพย์สร้างขึ้นพระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้ได้มีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 และทางราชการได้กำหนดให้วันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวัน วชิราวุธ และจัดให้มีการถวายบังคมพระบรมรูปเป็นประจำทุกปีพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันเสาร์เดือนยี่ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง จุลศักราช 1242 เวลา 8 นาฬิกา 55 นาที ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 24 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 2ในสมเด็จพระศรีพัชรินทร์ทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง (สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี)ได้รับพระราชทานพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สมเด็จพระบรมชนกนาถและสมเด็จพระบรมราชชนนีตรัสเรียกว่า “ลูกโต” เมื่อพระชนมายุได้ 8 พรรษาในปี พ.ศ. 2431 ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าฟ้ากรมขุนเทพทวาราวดีให้ทรงมีพระเกียรติยศเป็นชั้นที่ 2 รองจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารและได้มีพระราชพิธีโสกันต์ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2435การศึกษาในขณะทรงพระเยาว์ได้ทรงศึกษาในพระบรมมหาราชวัง พระอาจารย์ภาษาไทย คือ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) พระยาอิศรพันธ์โสภณ (หนู อิศรางกูร ณ อยุธยา) และหม่อมเจ้าประภากรในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ ส่วนภาษาอังกฤษทรงศึกษาจากนายโรเบิร์ต มอแลนด์ (Robert Morant) จนถึง พ.ศ. 2436 เมื่อมีพระชนมายุได้ 12 พรรษาเศษ สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ นับเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ มีผู้โดยเสด็จ ๔ ท่านคือ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์) พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ (พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์) ม.ร.ว.สิทธิ สุทัศน์ (นายพลโท พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร) และพระมนตรีพจนกิจ (นามเดิมคือ ม.ร.ว.เปีย มาลากุล ต่อมาได้เลื่อนเป็นพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ และเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี ตามลำดับ)ได้ทำหน้าที่พระอภิบาล และถวายพระอักษรเมื่อเสด็จฯ ถึงประเทศอังกฤษแล้ว ได้ประทับที่ไบรตันราวเดือนเศษแล้วจึงเสด็จไปประทับที่นอร์ธ สอคจ์ (North Lodge) ตำบลแอลคอต (Ascot) การศึกษาในระยะนี้เป็นการจ้างอาจารย์พิเศษมาสอน ณ ที่ประทับ เซอร์ เบซิล ทอมสัน (Sir Basil Thomson)ถวายความรู้เบื้องต้นระหว่างประทับอยู่ที่แอสคอต ประเทศอังกฤษนั้น ทางประเทศไทยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารได้สวรรคตเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2437 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารแทนได้มีการประกอบพระราชพิธีขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ.2437และที่สถานทูตไทยกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2437ได้มีการส่งข้าราชบริพารไปประจำพระองค์ เฉลิมพระเกียรติตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมาร 2 ท่านคือ นายพันโท พระยาราชวัลลภานุสิษฐ์ (เจ้าพระยาราชศุภมิตร) พระตำรวจเอก สังกัดกรมพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์ กับนายร้อยเอก หลวงสรสิทธิ์ฯ(นายพลเอก พระยาเทพอรชุน จเรทัพบกและการปืนเล็กปืนกล ภายหลังเป็นเจ้าพระยาพิชเยนทร์โยธิน)    หลังจากนั้น ได้ทรงย้ายที่ประทับไปยังบ้านใหม่ชื่อเกรตนี (Graotmey) ตำบลแคมเบอลีย์ (Camberley) ใกล้ออลเดอร์ชอต (Aldershot) เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 ณ ที่นั้น นายพันโท ซี วี ฮูม (C.V. Hume)เป็นผู้ถวายการสอนวิชาการทหาร ส่วนวิชาการพลเรือน ได้แก่ นายโอลิเวอร์ (Oilvier)ครูชาวอังกฤษ และนายบูวิเยร์ (Bouvier) ชาวสวิสเป็นผู้ถวายการสอนภาษาฝรั่งเศสต่อมาในปี พ.ศ.2440ได้ทรงศึกษาวิชาการทหารบกที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนเฮิสต์ (Sandhurst) และทรงย้ายที่ประทับไปอยู่ที่ฟริมลีย์ ปาร์ค (Frimley Park)เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2441 เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาจากแซนเฮิสต์แล้ว ได้ทรงเข้ารับราชการในกรมทหารราบเบาเดอรัม (Durham Light Infantry)ที่นอร์ธ แคมป์ (North Camp)ณ ออสเตอร์ชอต และได้เสด็จฯ ไปประจำหน่วยภูเขาที่ 6 ค่ายฝึกทหารปืนใหญ่ที่โอกแฮมป์ตัน (Okehampton) ต่อมาอีกปีหนึ่งเดือนได้เสด็จฯไปศึกษาที่โรงเรียนปืนเล็กยาวที่เมืองไฮยท (School of Musketry of Hythe) ได้รับประกาศนียบัตรพิเศษและเหรียญแม่นปืนเมื่อทรงสำเร็จการศึกษาในด้านการทหารแล้ว ได้เสด็จฯ ไปทรงศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ และกฎหมายที่วิทยาลัยไครสต์ เซิช (ChristChurch)มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ระหว่างปี พ.ศ.2442 ถึง พ.ศ.2444 ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นั้นได้ทรงพระประชวรด้วยพระโรคพระอันตะ (ไส้ติ่ง) อักเสบ มีพระอาการมาก ต้องทรงรับการผ่าตัดทันที พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์วิทยานิพนธ์ทางประวัติศาสตร์เรื่อง The War of the Polish Cuccession (วิทยานิพนธ์นี้สำนักพิมพ์B.H.Blackwell ประเทศอังกฤษจัดพิมพ์ ออกจำหน่ายเป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1901 ต่อมาได้มีผู้นำไปแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส ในตอนปลายรัชกาลที่ 6พระยาบุรีนวราษฐ์ (ชวน สิงหเสนี) ราชเลขานุการในพระองค์ได้แปลเป็นภาษาไทยทูลเกล้าฯ ถวายและพิมพ์เป็นครั้งแรกในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพเมื่อ พ.ศ. 2468 เรียกชื่อหนักสือว่า “สงครามสืบราชสมบัติโปลันด์”)เสนอมหาวิทยาลัยในด้านที่เกี่ยวกับกิจกรรมของสโมสรพระองค์ท่านได้ทรงก่อตั้งสโมสรคอสโมโปลิตัน (Cosmoptlitan Socitety) ขึ้นเพื่อเป็นแหล่งชุมนุมนิสิต มีการบันเทิงด้วย การแลกเปลี่ยนกันอ่านคำตอบวิชาที่ศึกษาอยู่ นอกจากนี้ยังได้ทรงเข้าเป็นสมาชิกสโมสรบุลลิงตัน (Bullington Club) สโมสรคาร์ดินัล (Cardinal Club) และสโมสรการขี่ม้าอีกด้วยผู้แทนพระองค์สมเด็จพระบรมชนกนาถเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสประเทศทางยุโรปครั้งแรกในพ.ศ. ๒๔๔๐ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมงกุฎราชกุมาร ก็ได้เสด็จฯ จากลอนดอนไปเฝ้ารับเสด็จที่เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี หลังจากนั้นยังทรงรับมอบพระราชภาระเป็นผู้แทนพระองค์สมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จฯ ไปร่วมงานพระราชพิธีฉัตรมงคลสมโภชในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียเสวยราชสมบัติมาครบ 60 ปีใน พ.ศ. 2440นอกจากนี้ได้เสด็จไปในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระเจ้าอัลฟองโซที่ 13 แห่งสเปนและพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2445 พระราชพิธีบรรจุพระศพพระราชินีลุยซ่าแห่งเดนมาร์กในปี พ.ศ. 2440และพระราชพิธีบรรจุพระศพสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียแห่งอังกฤษในปี พ.ศ. 2445เสด็จมาเยือนประเทศต่าง ๆ และเสด็จนิวัติกรุงเทพมหานครหลังจากที่ได้ทรงศึกษาที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ได้เสด็จฯ ย้ายจากประเทศอังกฤษ ไปประทับที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมประเทศต่าง ๆ ในยุโรปและประเทศอียิปต์ ซึ่งเป็นนโยบายที่จะผูกสัมพันธไมตรี แล้วจึงเสด็จจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษเพื่อนิวัติกรุงเทพมหานครตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระบรมราชชนก เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2445 โดยได้เสด็จฯ ผ่านประเทศสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เสด็จฯ ถึงประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2445 พระราชกิจขณะดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงเข้ารับราชการทหารในทันทีที่เสด็จกลับ และต่อมาทรงได้รับพระยศนายพลเอกราชองครักษ์และทรงช่วยเหลือกิจการของสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมชนกนาถในปี พ.ศ. 2447 ได้ทรงอุปสมบทตามโบราณราชประเพณี ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามและประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงได้รับพระสมณฉายาจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสพระราชอุปัชฌาย์ว่า“วชิราวุโธ”หลังจากนั้นได้ประทับ ณ พระราชวังสราญรมย์ ได้ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ของสยามสมาคม และได้ทรงดำรงตำแหน่งสภานายกหอสมุดแห่งชาติ ระหว่าง พ.ศ. 2448 ถึง 2453ได้เสด็จประพาสหัวเมืองเหนือครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2448 และครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2450ซึ่งมีผลให้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง “เที่ยวเมืองพระร่วง” และหลังจากที่เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ในปี พ.ศ. 2452 ก็ได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง “จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้” ทรงใช้พระนามแฝงว่า “นายแก้ว” นอกจากนี้ได้ทรงมีส่วนร่วมในการร่างกฎหมายหลายฉบับและก่อนหน้าที่จะขึ้นครองราชย์เพียง ๒ – ๓ เดือนก็ได้ทรงรับมอบหมายให้ทรงดำเนินงานในกระทรวงยุติธรรมซึ่งขณะนั้นยังไม่มีเสนาบดี จึงนับว่าทรงมีพื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารงานของประเทศชาติเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ก็ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบแทนทรงพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกจัดเป็น 2 งาน คือ งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเฉลิมพระราชมนเทียรเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2453 และงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 พระมเหสีและพระราชธิดาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพิธีหมั้นกับหม่อมเจ้าวัลลภาเทวีวรวรรณ ได้ทรงสถาปนาขึ้นเป็นพระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวีเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 และได้ทรงเลิกพระราชพิธีหมั้น เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2463 ด้วยเหตุที่พระราชอัธยาศัย และพระอัธยาศัยมิได้ต้องกันต่อมาโปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมเจ้าลักษมีลาวัณวรวรรณ เป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2464 และเป็นพระนางเธอลักษมีลาวัณ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2465ต่อมาพระนางเธอจึงทรงแยกอยู่แต่ลำพังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพิธีอภิเษกสมรสกับคุณเปรื่อง สุจริตกุล พระสนมเอกและได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่ตั้งเป็นพระสุจริตสุดา เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2464 ต่อมาได้ประกอบพระราชพิธีอภิเษกสมรสกับคุณประไพ สุจริตกุล ผู้น้องเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2464 และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นพระอินทราณี ต่อมาได้ทรงสถาปนาขึ้นเป็นพระวรราชชายา พระอินทรศักดิศจี เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2465และเป็นสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2468ส่วนพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชมเหสีนั้นเดิมคือ เจ้าจอมสุวัทนา (คุณเครือแก้ว อภัยวงศ์) ทรงประกอบพระราชพิธีอภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2467ได้โปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2468ได้ประสูติพระราชธิดาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพัณณวดี เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 สวรรคตพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรด้วยพระโรคทางเดินอาหารขัดข้อง ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษาว่า"ทรงพระประชวรด้วยพระโรคพระโลหิตเป็นพิษในพระอุทร มาตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 และสวรรคต ณ พระที่นั่งจักพรรดิพิมาน เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 พระชนมพรรษาเป็นปีที่ 46 เสด็จดำรงสิริราชสมบัติได้ 15 พรรษา "

 

 

ครูศราวุธ  เขื่อนคำ  วุฒิทางลูกเสือ :  L.T.  ตำแหน่งทางลูกเสือ : รองผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ

ครูชำนาญการพิเศษ(ลูกเสือ) : นายกสมาคมผู้บังคับบัญชาลูกเสือลำพูน  
ที่อยู่ สมาคมผู้บังคับบัญชาลูกเสือลำพูนเลขที่ 450 / 3 หมู่ที่4 ถนนพหลโยธิน(อาคารสำนักงานส่งเสริมวินัยนักเรียน) ตำบลลี้   อำเภอลี้  จังหวัดลำพูน 51110
Tel : 08-1026-9760   หรือ krutujao_scout@hotmail.com

ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ :