ประวัติครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี วัดพระพุทธบาทผาหนาม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

 

 

                                 

 

บ้านป่าหย่อมเล็ก ๆ เพียง 9 หลังคาเรือนตั้งอยู่โดยมีความทะมึนของขุนเขาลำเนาไพรเป็นรั้วรอบ จากคำบอกเล่า แม่เทยสมัยนั้นตกยามค่ำคืนเสียงส่ำ
สัตว์น้อยใหญ่ร้องระงมรอบบ้าน ไม่ว่าเสือ, ช้าง, เก้ง, กวาง คละเคล้ากันไปได้ยินถนัด ท้ายหมู่บ้านเป็นครอบครัวเล็ก ๆ ของผัวหนุ่มเมียสาวคู่หนึ่งอาศัยอยู่ แม้จะยากจนแต่ก็มีความสุขตามประสาคนหนุ่มสาวที่มักมองโลกเป็นความน่าบันเทิงเริงรมย์ยิ่งอยู่ในระยะข้าวใหม่ปลามันความฝันนั้นมักบรรเจิดยิ่งนัก ฝ่ายผัวมีเชื้อสายชาวลัวะชื่อ เมา และเมียชื่อ จันตา เขาทั้งสองดำรงชีพ แบบชาวบ้านป่าทั้งหลาย ด้วยการทำไร่ปลูกผักหักฟืนไปวัน ๆ โดยหาจุดหมายเพื่อความเป็นปึกแผ่นไม่ค่อยมั่นใจนักเพราะความยากจน สมัยนั้นไม่มีการทำนาเพราะยังไม่มีการบุกเบิก แต่จะพากันปลูกข้าวไรแทน ได้ผลบ้างไม่ได้บ้างแต่ที่แน่นอนไม่พอกินไปตลอดปี ซึ่งถ้าหากข้าวเปลือกที่กักตุนหมด อาหารหลักที่รับช่วงต่อจากข้าวก็คือกลอย กลอยเป็นพืชใช้กินหัวจัดอยู่ในตระกูลเผือกมันมีหัวอยู่ในดิน ชาวบ้านป่าจะเที่ยวขุดมากักตุนไว้ในฤดูของมัน ซึ่งสมัยนั้นชุกชุม โดยเอาหัวกลอยที่ขุดมาได้นั้นปลอกเปลือกฝานเป็นชิ้นบาง ๆ นำมาตากแดดให้แห้ง เก็บไว้ได้นาน ๆ เวลาจะกินก็ใช้วิธีนึ่งจนสุก แล้วแปรเป็นอาหารทั้งรูปข้าวและของหวาน โดยจะเอาคลุกน้ำอ้อยน้ำตาล โดยขูดมะพร้าวผสมก็กินอร่อย หรือจะกินกับประเภทกับ เช่น ผัก เนื้อ ก็ได้ดีเหมือนข้าว หลายท่านในภาคเหนือเราในปัจจุบันที่มีอายุ 40 - 50 ปี เคยกินกลอย และหลายท่านอีกเช่นกันที่เติบใหญ่มาด้วยการกินกลอยเป็นอาหารหลัก แม้กระนั้น เจ้ากลอยนี้แม้จะเป็นอาหารแต่จะกินสุ่มสี่สุ่มห้า โดยไม่ใช้ฤดูกาล ไม่ได้เป็นอันขาด ขืนกินเข้าไปเป็นเมาเบื่อทันที จากผู้ชำนาญในด้านนี้ ท่านบอกว่าฤดูที่กินได้เริ่มตั้งแต่เดือน 11 เหนือ (เดือน ใต้) ไปจนถึงเดือน 6 (เดือน 3 ใต้ ) ตอจากนั้นกลอยก็จะเฉา ขืนกินนอกจากฤดู ดังกล่าวก็จะเกิดอาการเบื่อเมา ซึ่งก็ตุนแรงพอดู และหากเกิดอาการดังกล่าวนี้ ท่านว่าให้กินน้ำผึ้งน้ำอ้อยหรือน้ำตาลให้มาก ๆ จะทำให้เกิดอาเจียนและหายเบื่อเมาได้ แต้ถ้าท่านไม่อยากเสี่ยง หากจะกินกลอยโดยไม่เกิดอาการเบื่อเมาแน่นอน ท่านก็ว่าหากนึ่งสุกแล้ว ทอลองให้สุนัขกินก่อนหากสุนัขกินหรือไม่กิน ก็เป็นกลอยที่ท่านจะกินหรือกินไม่ได้เช่นกัน  กลอยในฤดูปกติจะไม่มีพิษ และไม่แสลงโรค แต่ถ้าเริ่มกินในระยะ 3 - 4 วันแรก จะมีอาการอ่อนเพลียบ้างแต่หลังจากนั้นร่างกายก็จะปรับตัวแข็งแรงขึ้นเหมือนกินข้าวแต่มีอยู่อย่างหนึ่งที่เหมือนกันคือคนกินกลอยโดยทั่วไปมักใจคอหงุดหงิด โกรธง่าย ใครพูดผิดหูไม่ค่อยได้ และมักไม่กลัวใครเห็นจะเป็นเพราะอานุภาพของกลอย ซึ่งจัดอยู่ในจำพวกว่านชนิดหนึ่งด้วยกลอยกินเปลืองกว่าข้าวโดยเทียบอัตรา ข้าวนึ่งหนึ่งไหครอบครัวหนึ่งกินอิ่มแต่ถ้ากินกลอยจะต้องนึ่งถึงสองไหจึงจะอิ่มพอ และลักษณะคนกินกลอยที่เหมือนกันเมื่อกินนาน ๆ คือท้องใหญ่แต่ไม่อ้วน

วันกำเนิด

                     ในวันจันทร์ เดือน 7 เหนือ ปีกัดเป้า (ปีฉลู) ซึ่งตรงกับวันที่ 17 เดือนเมษายน 2443 อันเป็นวันมหาสงกรานต์ คำเมืองเรียกว่าวันปากปีครอบครัวของ นายเม่านางจันตา ก็มีโอกาสต้อนรับชีวิตเล็ก ๆ ชีวิตหนึ่งซึ่งลือตาขึ้นมาดูโลกในวันนี้ นับเป็นสายเลือดและพยานรักคนแรกและคนเดียวของพ่อเม่าแม่จันตาเพื่อให้เป็นมงคลตามวัน ทั้งสองจึงตั้งชื่อทารกน้อยนั้นว่า "จำปี"

ชีวิตวัยเยาว์

                     ดังกล่าวแล้วว่า ครอบครัวท่านเป็นครอบครัวชาวบ้านป่าค่อนข้างยากจน อาหารการกินจึงขาดแคลน มีแต่ผักกับกลอยเป็นอาหารหลัก เด็กชายจำปี จึงมีร่างกายบอบบาง พุงค่อนข้างป่องเพราะโรคขาดอาหาร จึงมักเจ็บออดแอด แต่ก็ไม่ร้ายแรงนัก "จำปี" มีแววฉลาดแต่ยามเล็ก ๆว่านอนสอนงาย และเรียนรู้ประสบการณ์จากป่า ความสงบของธรรมชาติมาตลอดชีวิต แม้จะยากจนแสนเข็ญ ครอบครัวนี้ก็ยังคงมีความสงบสุข ยิ่งมีลูกน้อยเป็นสื่อสายใจ พ่อเม่า แม่จันตา ก็ยิ่งมุมานะทำงาน เพื่อสร้างอนาคตให้เด็กน้อยจำปีขึ้นอีกเท่าตัว เด็กชายจำปี คงไม่เข้าใจการต่อสู้ของพ่อแม่นัก คงยังมีความร่าเริงสนุกไปตามประสาเด็ก ๆ และความน่ารักอันไร้เดียงสาของเขามันหมายถึงความรักของพ่อแม่ที่ทุ่มเทให้ลูกน้อยจนสุดหัวใจ แม้ทั้งสองร่างกายจะเปื้อนเหงื่อกว่าชีวิตประจำวันจะสิ้นสุด ก็ต่อเมื่อใกล้ค่ำย่ำสนธยา แต่ใบหน้าไม่เคยว่างรอยยิ้มอย่างเป็นสุข เมื่อเห็นลูกน้อยโผผวาเข้าหาอ้อมกอด นี้คือความรักของพ่อแม่ทุกคนในโลกที่มีต่อลูกน้อย

การพลัดพรากที่ยิ่งใหญ่

                     พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่าโลกนี้เป็นอนิจจัง มีความไม่เที่ยงแท้เป็นเครื่องกัดกร่อน ชีวิตมนุษย์ที่อุบัติขึ้นมาหาจุดหมายที่แท้จริงไม่ได้ แต่เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว สุขกับโศกมักจะเป็นเครื่องล้อเล่นให้ได้พบเสมอพบกันเพื่อจะจากกันในที่สุด เป็นยอยู่เช่นนี้เหมือนกันทั้งโลก ครอบครัวของหนุ่มเม่าก็เช่นกันจากกัน จากความกรากกรำในงานไร่ และต่อสู้เพื่อเลี้ยงทุกชีวิตที่ตนรับผิดชอบทำให้เขาล้มเจ็บลง มันเป็นไข้ป่าที่ร้ายแรงซึ่งหลายคนเสี่ยงเอา หากว่าเป็นแล้วก็พึ่งยากลางบ้านต้มกินกันตามที่ผู้เฒ่าผู้แก่ หมอกลางบ้านจะแนะนำให้อยู่หรือตายนั่นแล้วแต่บุญกรรม สำหรับหยูกยาทันสมัยไม่ต้องพูดถึง เพราะไกลความเจริญเหลือเกน พูดง่าย ๆ ว่าจากลี้ไปเชียงใหม่ในสมัยนั้นต้องเดินกันเป็นสิบ ๆ วัน สำหรับพ่อเม่าค่อนข้างโชคร้าย ยากลางบ้านประเภทสมุนไพรสกัดโรคร้ายไม่อยู่ อาการมีแต่ทรงกับทรุด แม่จันตาต้องนั่งเฝ้ามิยอมห่าง ด้วยความเป็นห่วงกังวล โดยมีลูกน้อยนั่งอยู่ด้วยนัยตาปริบ ๆ ด้วยคำถามที่ว่า "พ่อเป็นอะไรทำไมจึงไม่ลุกนั่งหอบอ้มลูกเหมือนเก่าก่อน" แม่ก็ได้แต่บอกว่าพ่อไม่สบาย พร้อมกับน้ำตาอาบแก้มกับคำถามสุดท้ายอันไร้เดียงสาของลูก พร้อมกับตั้งความหวังว่าพ่อคงไม่เป็นอะไรมากนักแต่อนิจจา ความตายนั้นไม่คำนึงเวลา และความรู้สึกของมนุษย์เลย แล้ววันนั้นวันที่พ่อเม่าต้องจากทุกคนไปอย่างไม่มีวันกลับมาถึง ท่ามกลางความเศร้าโศกของแม่จันตา และความอาลัยรักของเพื่อนบ้าน พ่อเม่าทิ้งซากที่ผอมเหลือแต่หนังหุ้มกระดูกอยู่บนที่นอนเก่า ๆ ให้แม่จันตาได้ร่ำไห้กอดรัดปิ่มว่าจะขาด ใจตามไปด้วย เด็กชายจำปียังไร้เดียงสาเกินไปนักที่จะเข้าใจว่าความตายคืออะไรด้วยวัยเพียง 4 ขวบ ก็ได้แต่พร่ำถามว่าแม่ร้องไหทำไม? พ่อเกลียดแม่หรือ? ทำไมพ่อจึงไม่พูด? ทุกคนที่เฝ้าดูอยู่จึงได้แต่เบือนหน้าหนีด้วยความสงสาร สะเทือนใจความพลัดพรากจากของรัก คนรักนับว่าเป็นความเจ็บปวดรวดร้าวใจอย่างนี้เอง นับจากพ่อแม่จากไปแล้ว ก็เหลือแต่สองแม่ ลูกกัดฟันต่อสู้ ชีวิตท่ามกลางบ้านน้อยในห้อมแหนของดงดิบจึงขาดความอบอุ่นอย่างสิ้นเชิงเมื่อความทมึนของราตีมาถึง หลายครั้งที่สองแม่ลูกผวาเข้ากอดกันด้วยใจระทึก เมื่อเสียงนกกลางคืนที่กรีดร้อง เหมือนเสียงสาบแช่งของภูติผี นี่หากพ่อเม่ายังอยู่พ่อก็คงเป็นที่พึ่งปลอบขวัญเหมือนมีกำแพงเพชรคอยกางกั้น เมื่อขาดพ่อโลกนี้เหมือนโลกร้างมีแต่เพียง "จำปี" กับแม่เพียงสองคนและมาถึงคงคณะนี้ "จำปี" เริ่มเติมใหญ่ แม้ร่างจะเล็กแต่เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อมก็หล่อหลอมหัวใจเด็กชายจำปีให้แกร่งดังเพชรและนี่เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ท่านเป็นผู้ไม่หวั่นนไหวต่ออุปสรรคเป็นนักสู้ชีวิตที่เข้มแข็งใจกาลต่อมา เด็กชายจำปีกับแม่ช่วยกันต่อสู้ในการดำรงชีพอย่างทรหด จวบจนอายุ 16 ปี แม้จะเป็นวัยรุ่นแต่ความคับแค้นที่ผจญอยู่แทบทุกวันทำให้ "จำปี"ไม่ร่าเริงเหมือนเด็กทั่วไปกลับเป็นอันสงบเสงี่ยมเจียมตัวชอบอยู่คนเดียวเงียบ ๆ และความคิดเป็นผู้ใหญ่เกินตัว

ฝากตัวเป็นศิษย์ครูบาศรีวิชัย

                    สมัยนั้นท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย ยังอยู่ที่วัดบ้านปาง วันหนึ่ง แม่จึงเรียกเจ้าจำปีเข้ามาถาม "ลูกอยากบวชไหม" จำปีตอบว่าอยากบวช แต่ยังห่วงแม่เมื่อลูกบวชแล้วใครดูแล" แม่ตาตอบว่า "อยู่ได้อย่างห่วงเลยอีกประการหนึ่งการบวชนี้เป็นการช่วยพ่อแม่ที่ดีที่สุด เพราะเป็นการทดแทนบุญคุณพ่อแม่อย่างแท้จริง เมื่อเห็นลูกนุ้งเหลือง ก็นับว่าเป็นความสุขชื่นใจอย่างเหลือเกิน" และจากคำแนะนำนี้ เด็กชายจำปีจึงถูกแม่พาไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย และในทันที่นำไปฝากเพียงท่านครูบาเห็นลักษณะเด็กขายจำปีท่านก็รับไว้ทันที่เหมือนดั่งจะมีตาทิพย์มองเห็นว่าเด็กคนนี้ในอนาคตจะต้องยิ่งใหญ่ ในฐานะนักบุญแทนท่านและอีกไม่นานหลังจากร่ำเรียนสวดมนต์ อ่านเขียนอักขระทั้งภาษาไทยและพื้นเมืองจบแล้วท่านครูบาศรีวิชัย จึงให้บรรพชาเป็นสามเณร

สามเณร "ศรีวิชัย"

                  ระหว่างเป็นสามาเณรท่านได้ปฏิบัติกิจอันจะพึงมีต่ออาจารย์คือครูบาศรีวิชัยอย่างครบถ้วนท่านจึงเป็นที่รักของอาจารย์อย่างยิ่ง ท่านจึงตั้งชื่อให้เหมือนกับอาจารย์ สามเณรศรีวิชัย สามเณรน้อยได้เฝ้าอุปัฎฐากอาจารย์และร่ำเรียนกัมมัฎฐานและอักษรสัมยจนจบถ้วนด้วยควมสนในพร้อมกับปฏิบัติตามที่พร่ำสอนจนดวงจิตสงบพร้อมกันนั้นบการถ่ายทอดในเชิงวิชาช่างก่อสร้างจากอาจารย์ จนเกิดความชำนาญและติดตามอาจารย์ครูบาศรีวิชัยไปก่อสร้างวัดวาอารามทุกหนทุกแห่งมิได้ขาด ในด้านสถาปัตย์ ท่านจึงนับว่าเป็นหนึ่ง ท่านชำนาญจนถึงขนาดว่าเพียงดินผ่านเสาได้ต้นไหนก็ สามารถรู้ได้ทันที่ว่าเสาต้นไหนกลวงหรือตันทั้ง ๆ ที่ไม่ปรากฏว่าเสาต้นนั้นจะมีรอยกลวงให้ปรากฏแก่สายตา

ครูบาเจ้าศรีวิชัยอุปสมบทให้

                 ท่านดำเนินชีวิตทั้งในด้านการปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน และด้านพัฒนาก่อสร้างควบคู่กันไป จวบจนอายุได้ 22 ปี เป็นสามเณรได้ 6 ท่านครูบาศรีวิชัยจงอุปสมบทให้ แต่เพราะเหตุที่ท่านมีชื่อเหมือนกับอาจารย์เมื่อเป็นภิกษุอาจารย์จึงได้เปลี่ยนฉายาให้ใหม่ว่า "อภิชัยขาวปี" ท่านอุปสมบทได้เพียง 2 พรรษา ท่านจึงกราบลาพระอาจารย์ เพื่อที่จะแยกไปมุ่งงานก่อสร้างต่อไป

 

 

 * หมายเหตุ : อยากให้ท่านที่ได้อ่านประวัติของท่านครูบาเจ้าได้รับทราบถึงคุณงามความดีของท่านเพื่อจะได้เอาเป็นแบบอย่างครับ

 

 

ครูศราวุธ  เขื่อนคำ  วุฒิทางลูกเสือ :  L.T.  ตำแหน่งทางลูกเสือ : รองผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ

ครู ชำนาญการพิเศษ(ลูกเสือ)โรงเรียนเวียงเจดีย์วิทยา  ลำพูน  : นายกสมาคมผู้บังคับบัญชาลูกเสือลำพูน  
ที่อยู่ สมาคมผู้บังคับบัญชาลูกเสือลำพูนเลขที่ 450 / 3 หมู่ที่4 ถนนพหลโยธิน(อาคารสำนักงานส่งเสริมวินัยนักเรียน)
ตำบลลี้   อำเภอลี้  จังหวัดลำพูน 51110
Tel : 08-1026-9760    หรือ krutujao_scout@hotmail.com

ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ :